 |
- เป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ
เป็นลูกจ้างประจำสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ
เป็นพนักงานประจำสำนักงานธนานุเคราะห์ หรือ
เป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำกัด หรือ
เป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานฌาปนกิจสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือ
เป็นพนักงานราชการสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ
เป็นบุคคลที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นชอบ
- เป็นผู้มีความประพฤติและนิสัยดีงาม
- มิได้เป็นสมาชิกในสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นที่มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน
|
|
 |
|
ผู้เข้าเป็นสมาชิกจะต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าให้แก่สหกรณ์ คนละ 100 บาท |
|
 |
- เป็นเจ้าของกิจการ มีอำนาจกระทำการใดๆ ตามกฏหมายสหกรณ์ หรือระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์
- ออกเสียงในที่ประชุมใหญ่เท่าเทียมกัน หนึ่งคนต่อหนึ่งเสียงจะมอบให้ผู้อื่นออกเสียงแทนไม่ได้
- การถือหุ้นของสหกรณ์
- การฝากเงินกับสหกรณ์
- การกู้เงินจากสหกรณ์
- การรับเลือกตั้งเป็นกรรมการดำเนินการสหกรณ์
- การขอตรวจดูเอกสาร และรายงานการประชุมต่างๆ
- รับการสงเคราะห์กรณีต่างๆ ตามระเบียบของสหกรณ์
|
|
 |
- เงินปันผลตามส่วนทุนเรือนหุ้นกับระยะเวลาในอัตราที่ไม่เกินกว่ากฎหมายกำหนด
- เงินเฉลี่ยคืน เฉพาะสมาชิกที่กู้เงินและไม่เคยผิดนัดการชำระหนี้
- ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์พิเศษและเงินฝากประจำ
- เงินสวัสดิการสงเคราะห์สำหรับสมาชิกประเภทต่างๆ
|
|
 |
- เข้าร่วมประชุมใหญ่ เสนอความคิดเห็น ซักถามข้อข้องใจต่างๆ
- ปฏิบัติตามกฏหมายว่าด้วยสหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบประกาศ มติของสหกรณ์
- เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการประจำปี
- ใช้บริการต่างๆ ของสหกรณ์รวมทั้งชักชวนเพื่อนสมาชิกมาร่วมใช้บริการด้วย
- ลงทุนซื้อหุ้นสหกรณ์เป็นรายเดือน หรือซื้อหุ้นเพิ่มเป็นครั้งคราวก็ได้
- ติดตามผลการดำเนินงานของสหกรณ์โดยสม่ำเสมอ
- ช่วยชี้แจงประชาสัมพันธ์งานของสหกรณ์ แก่บุคคลภายนอก
- สมาชิกมีการเปลี่ยนแปลง ชื่อ สกุล สัญชาติ ที่อยู่ ต้องแจ้งให้สหกรณ์ทราบเป็นหนังสือ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญา
- สมาชิกที่ย้าย, โอน หรือออกจากราชการ งานประจำโดยไม่มีความผิดไม่จำเป็นต้องลาออกจากสหกรณ์ โดยจะส่งค่าหุ้นรายเดือนต่อไป หรือจะงดส่งก็ได้ สิ้นปีก็ได้รับเงินปันผลตามปกติ
- การส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนให้สำนักเบิกเงินเดือนหักจากเงินเดือนของสมาชิกส่งให้สหกรณ์ในวันสิ้นเดือน หรือวันรุ่งขึ้น หากไม่สามารถหัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนได้ให้เป็นหน้าที่ของสมาชิกผู้นั้นต้องส่งเงินให้สหกรณ์โดยเร็วที่สุด
- สมาชิกที่ขาดส่งเงินงวดชำระหนี้ ไม่ว่าต้นหรือดอกเบี้ยในปีใด มิให้ได้รับเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีนั้น
|
|
 |
- จะค้ำประกันให้ใคร จะต้องตัดสินในให้ดี เพราะถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้แทนโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง
- จะกู้เงินสหกรณ์ต้องคิดให้รอบคอบ ไม่จำเป็นก็อย่ากู้ เพราะเมื่อกู้แล้วจะต้องถูกหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ทั้งต้นและดอกเบี้ย
- อย่าขาดส่งเงินชำระหนี้ไม่ว่าต้นเงิน หรือดอกเบี้ย สำหรับปีใดจะไม่ได้รับเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีนั้น
- อย่าขาดส่งชำระหนี้หรือค่าหุ้นเกิน 2 งวด เพราะถ้าไม่มีเหตุผล ท่านจะต้องถูกให้ออกจากสหกรณ์ และท่านจะไม่ได้สิทธิต่างๆ ในฐานะสมาชิกแถมยังต้องถูกให้ชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมดเอง ถ้าจำเป็นต้องทำหนังสือขอผ่อนผันเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
- เพื่อไม่ให้ยุ่งยากเมื่อท่านเสียชีวิตโปรดทำหนังสือมอบผลประโยชน์ให้กับบุคคลที่ท่านต้องการไว้กับสหกรณ์ ในขณะที่ยังมีชิวิตอยู่
- การสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเงินฝาก เงินกู้ หรือการค้ำประกันจะสอบถามจากสหกรณ์ได้เฉพาะของตัวเองเท่านั้น
และจะต้องสอบถามด้วยตัวเองจะใช้การฝากหรือโทรศัพท์ถามก็ไม่ได้
- บัญชีที่ท่านให้สหกรณ์โอนเงินให้ จะต้องเป็นบัญชีของท่านเท่านั้น และจะต้องตรวจสอบชื่อและบัญชีให้ถูกต้อง
- ติดต่อขอรับเงินกับสหกรณ์จะต้องแสดงบัตรข้าราชการหรือบัตรประจำตัวลูกจ้าง หรือบัตรที่ราชการรับรองทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกทุกท่าน
- การกรอกข้อความในหนังสือสัญญา คำขอกู้ หนังสือค้ำประกันหรือเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำนิติกรรม ถ้าหากมีการขีดฆ่าแก้ไขจะต้องมีการเซ็นชื่อกำกับทุกครั้ง และห้ามใช้ยาลบคำผิดหรือป้ายขาวมาเด็ดขาด
|
|
 |
- การลาออกจากราชการ หรือย้ายสังกัด ย้ายอัตราเงินเดือน โปรดแจ้งสหกรณ์ด่วน
- การลาออกจากสหกรณ์ กรุณาส่งหลักฐานเปลี่ยนผู้ค้ำประกันก่อน (กรณีมีภาระค้ำประกัน)
- การส่งหลักฐานคำขอกู้เงินทุกประเภทต้องกรอกข้อความให้ครบถ้วนถูกต้อง เช่น ลงลายมือชื่อผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน เงินเดือน จำนวนเงินที่ขอกู้ และต้องส่งหลักฐานตัวจริงเท่านั้น
- การลงลายมือชื่อผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน การลงนามรับรองสำเนาบัตรประจำตัว ต้องเป็นลายมือชื่อทีเหมือนกัน และเป็นของตนเอง (บัตรต้องไม่หมดอายุ)
- ผู้รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้าหน่วยงาน
- การส่งเงินให้สหกรณ์โดยโอนบัญชีธนาคารกรุงไทย กรุณาแฟ็กซ์ สำเนาใบโอนในวันที่ทำการโอนเงินให้สหกรณ์โดยระบุว่าเป็นเงินของใคร ค่าอะไร
- ประสงค์จะให้สหกรณ์โอนเงินกู้ หรือถอนเงินฝากทางบัญชี ต้องถ่ายเอกสารหมายเลขบัญชีธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นบัญชีของตัวท่านเองแนบเรื่องให้สหกรณ์ทุกครั้ง
|
|
 |
ธนาคารกรุงไทย สาขา สะพานขาว
ชื่อบัญชี สหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำกัด
- กรณีเพื่อชำระหนี้ และซื้อหุ้น
เลขที่บัญชี 021-1-04169-6
- กรณีเพื่อฝากเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ฯ
เลขที่บัญชี 021-1-19052-7
- กรณีเพื่อจ่ายค่าประกัน AIG
เลขที่บัญชี 021-0-01066-5
ทั้ง 3 กรณี เมื่อสมาชิกโอนเงินแล้ว โปรดแจ้งและแฟกซ์สำเนาใบโอนเงินให้สหกรณ์ ทราบด้วย
|
|
 |
- สมาชิกจะทำหนังสือตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเพื่อให้เป็นผู้รับโอนประโยชน์ซึ่งตนมีอยู่ในสหกรณ์ในเมื่อตนเสียชีวิตนั้น มอบให้สหกรณ์ถือไว้ก็ได้หนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ดังกล่าวนี้ ต้องทำตามลักษณะพินัยกรรม์แบบธรรมดา หรือ แบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ
- ถ้าสมาชิกประสงค์จะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงการตั้งผู้รับโอนผลประโยชน์ที่ได้ทำไว้แล้ว ก็ต้องทำเป็นหนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ตามลักษณะดังกล่าวข้างต้น มอบให้สหกรณ์ถือไว้
- เมื่อสมาชิกเสียชีวิต สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินค่าหุ้นรายเดือน เงินรับฝาก เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืนและดอกเบี้ย ที่สมาชิกมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้รับโอนผลประโยชน์ที่ได้ตั้งไว้ หรือถ้ามิได้ตั้งไว้ก็คืนให้แก่บุคคลที่ได้นำหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่พอใจ คณะกรรมการดำเนินการว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าว
|
|
 |
เหตุที่สมาชิกต้องออกจากสหกรณ์ สมาชิกต้องออกจากสหกรณ์เพราะเหตุใดๆ ดังต่อไปนี้
- เสียชีวิต
- วิกลจริต
- ลาออกจากสหกรณ์
- ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย
- ถูกออกจากราชการหรืองานประจำ โดยมีความผิด
- ถูกให้ออกจากสหกรณ์
|
|