 |
กรมประชาสงเคราะห์ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสวัสดิการด้านต่างๆ ของข้าราชการ เช่นในเรื่องความเป็นอยู่เรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องการศึกษาของบุตร เป็นต้น ซึ่งแต่ละด้านก็ได้ดำเนินการไปแล้วด้วยดี สำหรับในด้านการออมทรัพย์เคยได้จัดตั้งทุนหนึ่ง เรียกว่า “ทุนกลาง”
เมื่อราวปี พ.ศ.2495 โดยรวบรวมเงินไว้ก้อนหนึ่งเรียกเก็บ โดยความสมัครใจจากข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนขึ้น หรือเงินตกเบิกแต่ละปี แล้วสมทบเข้ากองทุนนี้ เมื่อผู้ใดมีความเดือดร้อนต้องการใช้เงินก็ขอยืมจากทุนกลางนี้ได้ นี่เป็นการเริ่มต้นขั้นแรกของการออมทรัพย์ของกรมประชาสงเคราะห์
ต่อมาในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2504 โดยการริเริ่มของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ประชุมผู้เข้าชื่อ เพื่อขอตั้งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์และขอจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2471 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2504 โดยใช้ชื่อว่า “สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการประชาสงเคราะห์จำกัดสินใช้” และได้เริ่มประกอบธุรกิจเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2504 โดยมี นายปกรณ์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ในสมัยนั้น เป็นประธานกรรมการดำเนินการคนแรกของสหกรณ์ มีสมาชิกขณะขอจดทะเบียนเพียง 121 คน
ซึ่งในปีต่อๆ มาสหกรณ์ฯ ก็ค่อยเติบโตมีจำนวนสมาชิกจำนวนหุ้นทุนดำเนินการและกำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ดังรายละเอียดในรายการแสดงฐานะของสหกรณ์ ในปีต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงบัดนี้ซึ่งได้รวบรวมไว้ ในเรื่องข้อมูลที่น่าสนใจแล้ว
จะเห็นได้ว่า สหกรณ์ฯ ได้เริ่มจากสมาชิกเพียงร้อยกว่าคนมีกำไรสุทธิในปีแรกไม่ถึงห้าร้อยบาทในการบริหารสหกรณ์ฯ มีคณะกรรมการซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกแต่ละปี โดยมีผู้แทนจากกองต่างๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนร่วมอยู่ในคณะ เพื่อทำหน้าที่ดูแลและควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ได้จัดตั้งคณะกรรมการเงินกู้ เพื่อพิจารณาการขอกู้สามัญและกู้พิเศษของสมาชิกกับได้ออกระเบียบต่างๆ ขึ้น เพื่อใช้ในการปฏิบัติและแบ่งรูปงานของสหกรณ์ ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเลขานุการสำนักงาน และ เลขานุการกรม
ต่อมาองการเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป ฝ่ายเหรัญญิกกองคลังเป็น เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการเงินและการบัญชี โดยใช้ข้าราชการของกองนั้นๆ เป็นเจ้าหน้าที่ และจ้างบุคคลภายนอกบางส่วนเป็นผู้ช่วยเหลือ ใช้สถานที่ของกองเป็นที่ติดต่อกับสมาชิก การดำเนินงานได้เจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ
ฉะนั้นในปลายปี พ.ศ.2518 ในสมัย นายอร่าม สุทธะพินทุ เป็นอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์และเป็นประธานกรรมการ ได้เห็นว่าสหกรณ์ฯ มีจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้นทุกปี มีรายได้สูงขึ้นและมีทุนดำเนินการร่วม 11 ล้านบาท พอจะเลี้ยงตัวเองได้ จึงได้ปรับปรุงงานสหกรณ์ฯ เสียใหม่ แยกมาจัดตั้งเป็นสำนักงานโดยเอกเทศ จัดจ้างเจ้าหน้าที่และจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินงาน โดยใช้เงินของสหกรณ์ฯ เองตามกำลังงบประมาณ มีผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบในบรรดากิจการต่างๆ ตลอดจนควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน |
|
 |
เป็นสหกรณ์ที่มีการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสมาชิกอย่างยั่งยืน
|
|
 |
- ส่งเสริมการออม การลงทุน จัดบริการเงินกู้ พัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ และจัดสวัสดิการแก่สมาชิก
- เสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรโดยหลักธรรมาภิบาล
- พัฒนาบุคลากร เพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
- พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์
|
|
 |
- มีบริการที่ดี รวดเร็วและตอบสนองความต้องการของสมาชิก รวมทั้งมีการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกหลากหลายและทั่วถึง
- องค์กรมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ได้รับความเชื่อมั่นจากสมาชิกและผู้เกี่ยวข้อง
- บุคลากรมีศักยภาพในการให้บริการที่มีจิตมุ่งบริการ
- มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์ ที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
|
|
 |
- ส่งเสริมให้สมาชิกออมทรัพย์ โดยช่วยให้สามารถสงวนส่วนแห่งรายได้ของตนไว้ในทาง อันมั่นคงและได้รับประโยชน์ตามสมควร
- ส่งเสริมการช่วยตัวเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก
- รับฝากเงินจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น
- จัดหาทุนเพื่อกิจการตามวัตุประสงค์ของสหกรณ์
- ให้เงินกู้แก่สมาชิก
- ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน
- ซื้อหุ้นของธนาคารซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สหกรณ์
- ซื้อหุ้นของชุมนุมสหกรณ์หรือสหกรณ์อื่น
- ซื้อหุ้นของสถาบันที่ประกอบธุรกิจอันทำให้เกิดความสะดวกหรือส่งเสริมความเจริญแก่กิจการของสหกรณ์
- ซื้อหลักทรัพย์รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
- ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและตราสารการเงิน
- ฝากหรือลงทุนอย่างอื่นตามกฎหมายและตามที่คณะกรรมการการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนด
- ดำเนินการให้กู้ยืมเพื่อการเคหะ
- ให้สวัสดิการและการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัว
- ร่วมมือกับทางราชการ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์และสหกรณ์อื่น เพื่อส่งเสริมและปรับปรุงกิจการของสหกรณ์
- กระทำการต่างๆ ตามที่อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวข้างต้น รวมถึง ซื้อ ถือกรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิครอบครอง กู้ ยืม เช่าหรือให้เช่า เช่าซื้อหรือให้เช่าซื้อ โอนหรือรับโอน สิทธิการเช่าหรือสทธิการเช่าซื้อ ขายหรือจำหน่าย จำนองหรือรับจำนอง จำนำหรือรับจำนำ ด้วยวิธีอื่นใด ซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิกหรือของสมาชิก
- ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก
- ขอหรือรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการ หน่วยงานของต่างประเทศ หรือบุคคลอื่นใด
- ดำเนินกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
|